หูตึง คืออะไร สามารถรักษาได้หรือไม่
ปิด

หูตึง คืออะไร สามารถรักษาได้หรือไม่


อาการหูตึง หูอื้อ คือ การได้ยินไม่ชัด หรือสมรรถภาพการได้ยินลดลงเมื่อเทียบกับผู้ที่มีการได้ยินปกติ ซึ่งแตกต่างจากคนหูหนวกจะเป็นภาวะที่ไม่สามารถเข้าใจเสียงพูดผ่านการได้ยินแม้ว่าจะใส่เครื่องช่วยฟังแล้ว อาการหูอื้อ เป็นอาการที่พบได้บ่อยและเป็นอาการนำที่สำคัญของการสูญเสียการได้ยิน หรือก่อให้เกิดโรคและภาวะความผิดปกติต่างๆ ตามมาได้อีกด้วย ซึ่งอาการ หูได้ยินเบา หรือ หูหนวก เกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ โดยจะแบ่งประเภทตามความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับส่วนต่างๆ ของอวัยวะของหู โดยสามารถเกิดขึ้นตั้งแต่หูชั้นนอกไปจนถึงหูชั้นใน หูอื้อ ได้ทั้งสิ้น ความผิดปกติที่พบได้บ่อย เช่น ขี้หูอุดตัน แก้วหูทะลุหูชั้นกลางอักเสบ ส่วนในผู้สูงอายุพบว่าการได้ยินจะเสียไปเนื่องจากประสาทหูเสื่อมเป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้นพึงระลึกไว้เสมอว่าสาเหตุของอาการหูอื้อนั้นมีหลายอย่างและบางอย่างก็อาจแก้ไขให้หายได้จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยให้เร็วที่สุด

โดยหลักการทำงานของเซลล์รับเสียงจะมีวิธีการดังนี้ โดยเสียงจากภายนอกจะผ่านรูหูเข้ามา คลื่นเสียงจะทำให้แก้วหูสั่น แล้วส่งผ่านหูชั้นกลางเข้าสู่หูชั้นในซึ่งจะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานเสียงเป็นคลื่นกระแสไฟฟ้านำเข้าสู่สมองหูคนเราประกอบด้วยหูชั้นนอก หูชั้นกลางและหูชั้นใน หูชั้นในแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนมีลักษณะคล้ายก้นหอย ซึ่งทำหน้าที่รับเสียงกับส่วนที่เป็นอวัยวะรูปเกือกม้า 3 อันมารวมกันทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัวหูชั้นในนอกจากจะแบ่งตามหน้าที่แล้วยังแบ่งตามโครงสร้างเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นกระดูก กับส่วนที่เป็นเยื่อหุ้มภายในส่วนที่เป็นกระดูกจะห่อหุ้มส่วนที่เป็นเยื่อหุ้มภายใน โดยเยื่อหุ้มภายในจะมีของเหลวอยู่ เราอาจแบ่งระดับความรุนแรงของการสูญเสียการได้ยินเป็น หูตึงปานกลาง หูอื้อตึงมากถึงหูอื้อตึงรุนแรงและหูหนวก โดยใช้หน่วยวัดการได้ยินที่เรียกว่า เดซิเบล เป็นตัวกำหนดมาตรฐานการได้ยิน ซึ่งคนปกติจะมีระดับการได้ยินเสียงอยู่ที่ 0-25 เดซิเบล ส่วนคนหูตึงจะมีค่าระดับการได้ยินเสียงเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ และคนหูหนวกจะมีระดับการได้ยินเสียงสูงอยู่ที่ 90 เดซิเบลขึ้นไป

ปัญหาหูอื้อและตึงหรือหูหนวก ย่อมมีผลต่อการพูดคุย และการสื่อความหมาย รวมไปถึงผลกระทบทางสังคมกับคนข้างเคียงยิ่งในเด็กแล้วผลที่ตามมาอันใหญ่หลวงคือทำให้ไม่สามารถพัฒนาการเรียนรู้ทางด้านภาษาและการพูดให้สมบูรณ์สอดคล้องกับวัยได้เสียงที่ดังเกินไปอาจจะมีผลทำให้หูอื้อตึงชั่วคราวหรืออาจทำให้หูอื้อตึงหรือประสาทหูเสื่อมแบบถาวร ซึ่งหูอื้อและตึงชั่วคราวมักเกิดภายหลังจากที่ไปได้ยินเสียงดังๆ ในช่วงไม่นานนัก เช่น หลังเทศกาลตรุษจีนที่มีการจุดประทัดกัน ส่วนหูอื้อและตึงแบบถาวรมักพบในพวกที่ได้รับเสียงดังติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เช่นพวกที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีเสียงดังอยู่ตลอดเวลาเสียงที่ดังนี้นอกจากจะมีผลต่อการได้ยินแล้ว ยังมีผลต่อร่างกายอีกหลายด้านเช่น อาจรบกวนการนอน รบกวนประสิทธิภาพในการทำงาน รบกวนการสื่อสารติดต่อทำให้อารมณ์ตึงเครียด หงุดหงิด และอารมณ์เสียได้ง่าย

ประสาทหูเสื่อมในวัยชราเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยในสังคมปัจจุบัน เพราะคนเรามีอายุยืนขึ้นฉะนั้น ควรนำผู้ป่วยมารับการตรวจวัดระดับการได้ยินก่อน ว่าหูตึงมากน้อยเพียงใด และจะได้รับประโยชน์จากการใช้เครื่องช่วยฟังหรือไม่ ไม่ควรด่วนตัดสินใจซื้อ เครื่องช่วยฟัง ไปตามการโฆษณาบ่อยครั้ง เพราะบางครั้งการตัดสินใจซื้อจากโฆษณาตามสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักไม่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ หรือบางรายซื้อมาแล้วก็ไม่ได้ใช้ ฉะนั้นผู้ป่วยอาจไม่ทราบว่าสาเหตุของหูอื้อตึงหรือประสาทหูเสื่อมนั้นมีมากมายหลายอย่าง และบางอย่างนั้นก็อาจจะรักษาให้หายได้ด้วยการรับประทานยาหรือการผ่าตัด ทั้งนี้อาการหูอื้อตึงหรือหูหนวก อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ทั้งการงาน ความสัมพันธ์ และสุขภาพจิต

นอกจากนั้นอาการหูตึงและหูหนวก อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ เช่น โรคซึมเศร้า โรคความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคไต โรคไขมันในเลือดสูง และโรคที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกัน เป็นต้น แม้ว่าอาการ หูอื้อตึง ในผู้สูงอายุจะไม่เป็นโรคร้ายแรงอันตราย แต่ด้วยเป็นภาวะที่ค่อยเป็นค่อยไป จะทำให้ผู้สูงอายุได้รับผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งในเรื่องการสื่อสารกับผู้อื่นน้อยลงโดยไม่รู้ตัว ทำให้เกิดปัญหาระหว่างผู้ดูแลหรือคนในครอบครัวกับผู้สูงอายุได้ นอกจากผลกระทบทางด้านร่างกายแล้ว การไม่สามารถสื่อสารกับคนรอบข้างได้อย่างเป็นปกติยังมีผลกระทบทางด้านจิตใจได้อีกด้วย ฉะนั้น เมื่อพบว่าผู้สูงอายุมีอาการได้ยินไม่ชัด ได้ยินไม่ครบทั้งประโยค หรือขอให้พูดซ้ำหลายๆ ครั้ง ดูโทรทัศน์เสียงดังกว่าปกติ หรือพูดเสียงดังกว่าปกติ ควรรีบพามาพบแพทย์เพื่อตรวจการได้ยิน ทั้งนี้ผู้สูงอายุที่มีอาการหูอื้อตึงตามวัยสามารถกลับมาได้ยินหรือได้ยินดีขึ้นได้ด้วยการใส่เครื่องช่วยฟัง

สาเหตุหูอื้อ ในผู้สูงอายุ?

เกิดจากการเสื่อมและตายของเซลล์ขนรับเสียง (Hair cells) ในหูชั้นใน รวมถึงประสาทบริเวณหูชั้นในค่อยๆ สึกกร่อนหรือฉีกขาดไป ส่งผลให้เมื่ออายุมากขึ้นจะไม่ได้ยินช่วงเสียงแหลมความถี่สูง จากนั้นความเสื่อมจะค่อยๆ ลามไปถึงช่วงความถี่กลางซึ่งเป็นระดับของเสียงพูด จึงทำให้ผู้สูงอายุเริ่มฟังไม่ชัดเจน โดยอาจจะเริ่มแสดงอาการเมื่ออายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่ส่งผลต่อความรุนแรงของความบกพร่องของการได้ยิน เช่น การรับประทานยาบางชนิดอาจเป็นปัจจัยให้ประสาทหูเสื่อมเร็วขึ้นได้ การเป็นโรคเรื้อรัง รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น

วิธีสังเกตอาการหูตึง ?

1. ได้ยินเสียงเบาลง และรู้สึกว่าหูทั้งสองข้างได้ยินไม่เท่ากัน
2. ต้องพูดซ้ำหลายๆรอบถึงจะเข้าใจ
3. เปิดเสียงโทรทัศน์หรือพูดคุยโทรศัพท์เสียงดังกว่าคนปกติทั่วไป
4. มีเสียงรบกวนในหูร่วมกับอาการหูอื้อ

เมื่อหูอื้อต้องทำยังไง ?

หากรู้สึกว่าตัวเองเริ่มมีอาการหูตึงควรรีบหาทางแก้ไขและรักษาให้เร็วที่สุดได้ดังนี้
1. ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อตรวจวินิจฉัยและหาวิธีการรักษาที่ถูกต้อง
2. ใส่เครื่องช่วยฟัง ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับช่วยฟังเสียง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานได้ยินเสียงชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้ต้องเลือกเครื่องช่วยฟังที่มีมาตรฐานและได้รับการรองรับเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

เครื่องช่วยฟังที่ใช่

ให้ GOOD PRICE ดูแล
สอบถามเพิ่มเติม โทร.
090-419-4199
ช่องทางการติดต่อ
kseven.hearingaid@gmail.com